4 วิธีดูแลผู้ป่วยติดเตียงแบบมืออาชีพ
05 Jun, 2020 / By
sirichatpanich
"การนอน"
การนอนในท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถขยับหรือพลิกตัวได้เองอาจทำให้เกิดอาการแผลกดทับ ซึ่งมักเป็นบริเวณที่ไม่มีไขมันปกคลุมผิวหนังมากนัก เช่น ไหล่ ข้อศอก ท้ายทอย ข้างใบหู เข่า ข้อเท้า ส้นเท้า เท้า กระดูกสันหลัง หรือกระดูกก้นกบ อาการเริ่มจากเกิดรอยแดงสำหรับผู้ที่มีผิวขาว หรือรอยเขียวอมม่วงสำหรับผู้ที่มีผิวเข้ม มีแผลเปิดหรือเป็นตุ่มน้ำพอง ผิวหนังหลุดลอกลึกลงไปในชั้นผิวหนัง เนื้อเยื่อที่อยู่ล้อมรอบเริ่มตาย [หรือเนื้อเยื่อตายเฉพาะส่วน (Tissue Necrosis)] หากเป็นขั้นรุนแรงจะลามไปจนถึงกล้ามเนื้อและกระดูกที่อยู่ลึกลงไปก็จะถูกทำลายด้วย การเลือกเบาะรองนั่งหรือเตียงนอนที่ช่วยผ่อนแรงกด การปรับท่าทางให้นั่งหรือนอนให้สูงขึ้นไม่เกิน 30 องศา การช่วยผู้ป่วยปรับเปลี่ยนท่านอนทุก ๆ 2 ชั่วโมง อย่างสม่ำเสมอ จะสามารถช่วยเลี่ยงไม่ให้ผู้ป่วยถูกแรงกดทับจากการนอนที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นเวลานานจะช่วยป้องกันการเกิดแผลกดทับได้เป็นอย่างดี
"การรับประทาน"
สำหรับผู้ป่วยติดเตียงที่ยังสามารถรับประทานอาหารได้แต่อยู่ในสภาวะกลืนลำบาก ไม่ควรเคร่งเรื่องมารยาทในการรับประทานอาหารจนเกินไป ควรหมั่นพุดคุยให้ผู้ป่วยตื่นตัว ขณะรับประทานอาหาร ให้นั่งหัวสูงปรับเตียง 45-90 องศา ไม่รีบป้อนอาหาร (บางรายอาจจะต้องมีการฝึกกลืนอาหารก่อน) ควรปรับปริมาณอาหารให้เหมาะสม อาจจะให้อาหารข้นก่อน แต่ปริมาณน้อย เช่นโจ๊กปั่น เพื่อดูว่าผู้ป่วยสามารถกลืนได้หรือไม่ และควรให้ผู้ป่วยก้มคอกลืนอาหารที่ป้อน ห้ามแหงนคอไปข้างหลัง และหยุดป้อนทันทีถ้ามีการลำลัก หลังจากรับประทานอาหารให้อยู่ในท่านั่งรออาหารย่อยประมาณ 1-2 ชั่วโมง จึงให้นอนลง
"การขับถ่าย"
ปกติอุจจาระคนเราจะเป็นมีสีเหลือง ลักษณะอ่อน มีรูปทรง ชุ่มชื้น มีรูปร่างคล้ายลำไส้ หากผู้สูงอายุมีเลือดออกในกระเพาะและลำไส้เล็กเป็นเหตุทำให้อุจจาระมีสีดำ หากมีเลือดออกในลำไส้ตรงและทวารหนักทำให้เป็นสาเหตุให้อุจจาระมีสีแดงสด เป็นต้น ดังนั้น โรคและการติดเชื้อบางอย่างอาจเป็นสาเหตุทำให้อุจจาระมีสีเทาหรือขาว สีซีด สีส้ม หรือสีเขียวได้ ผู้แลควรหมั่นสังเกต สี กลิ่น จำนวน รูปร่าง ความคงตัว จำนวนครั้งในการขับถ่ายอุจจาระ และการบอกถึงความลำบากของการขับถ่ายอุจจาระ หากพบลักษณะที่ผิดปกติของการขับถ่ายอุจจาระ ควรปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลให้ทราบเพื่อประเมินอาการ
"การใส่ผ้าอ้อม"
ปกติผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรงจะมีการขับปัสสาวะประมาณ 1500 ซีซีต่อวัน แต่ปัจจัยอื่นที่มีผลต่อการขับปัสสาวะ อาทิเช่น อายุที่เพิ่มขึ้น ภาวะความเจ็บป่วย ปริมาณของสารน้ำที่ได้รับ อาหารประเภทเกลือ และยาบางตัว อาจทำให้ผู้ป่วยปัสสาวะถี่ขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้ ลักษณะนิสัย ความเคยชินแต่ละคนที่แตกต่างกันก็มีผลกับปริมาณและความถี่ในการปัสสาวะด้วยเช่นกัน ดังนั้น การดูแลผู้ป่วยติดเตียงแต่ละท่านก็ย่อมมีความแตกต่างกัน ผู้ดูแลควรใส่ใจ ในการเลือกผ้าอ้อมที่มีคุณสมบัติในการดูดซับของเหลวได้ดี ไม่ไหลย้อนกลับ ไม่ระคายเคืองผิว ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกแห้งสบาย และที่สำคัญต้องหมั่นทำความสะอาดผิวหลังเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกครั้ง ที่ผู้ป่วยอุจจาระ หรือทุก 2 ชั่วโมง แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณการปัสสาวะของผู้ป่วยแต่ละท่านและคุณสมบัติการซึมซับผ้าอ้อมแต่ละชนิดด้วยนะคะ เซ็นซี่ขอแนะนำ
ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ แบบเทป #เซ็นซี่
-ซึมซับเร็ว แห้งสบาย
-ขอบขาสูง ใส่กระชับ ป้องกันการรั่วซึม
-โพลีเมอร์เจล 2 ชั้น ช่วยดูดซับของเหลวทำให้แห้งสบาย
-เสริมแผ่น ADL ป้องกันการไหลย้อนกลับ
-เทปกาวติดซ้ำได้หลายครั้ง